Powered By Blogger

20 September 2011

Google

Google:

'via Blog this'

ขอขอบคุณ GooGle




มาอ่านและดูว่า ร่างกายเราประกอบด้วยอะไรบ้าง

12 September 2011

การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด

การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด

การพยาบาลผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามานอนรับการรักษาในหอผู้ป่วยจนกระทั่งผู้ตัดสินใจรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและถูกนำไปยังห้องผ่าตัด พยาบาลเป็นบุคคลที่สำคัญในทีมสุขภาพที่จะช่วยแพทย์ใน
การรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยช่วยประเมินสภาพผู้ป่วยตั้งแต่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยใช้ความรู้ความสามารถ และทักษะในการสัมภาษณ์และการสังเกตผู้ป่วยอย่างละเอียดในด้านประวัติ การตรวจร่างกาย 
การตรวจทางห้องทดลอง การตรวจทางรังสีและการตรวจพิเศษ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยในการประเมินปัญหา ความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ตลอดจนสามารถให้
การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมทางด้านการเตรียมและการดูแลผู้ป่วยโดยทั่วไปก่อนการผ่าตัด การให้การพยาบาล
ที่พบ รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยในเช้าของวันผ่าตัด จนกระทั่งช่วยส่งผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด





การพยาบาลผู้ป่วยก่อนรับการผ่าตัด


การเตรียมและดูแลผู้ป่วยโดยทั่วไปก่อนรับการผ่าตัด


1.             ซักถามหรือสอบถามข้อมูลต่างๆ ตลอดจนการสังเกตอาการต่างๆ ของผู้ป่วยให้ถูกต้องและชัดเจน และควร
ซักถามจาญาติผู้ป่วยเพิ่มเติม


2.             แนะนำหรือปฐมนิเทศให้ผู้ป่วยรู้จักสถานที่ สิ่งแวดล้อมต่างๆในหอผู้ป่วย


3.             ประเมินค่าสัญญาณชีพ(vital signs) ชั่งน้ำหนัก


4.             เก็บ Specimens ส่งตรวจทางห้องทดลองตามแผนการรักษา


5.             ให้ผู้ป่วยเซ็นชื่อยินยอมรับการรักษาโดยการผ่าตัดตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ในแต่ละโรงพยาบาล พร้อมทั้ง
มีพยานเซ็นชื่อกำกับไว้ด้วย


5.1      ผู้ป่วยซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถเซ็นยินยอมได้ หากไม่บรรลุนิติภาวะแต่
มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีสติสัมปะชัญญะดี สามารถเซ็นใบยินยอมผ่าตัดได้ด้วยตนเองได้


5.2      ผู้ป่วยที่มีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ต้องให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายเป็นผู้เซ็นใบยินยอม


5.3      ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสและไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถตามผู้ปกครองมาเซ็นใบยินยอมผ่าตัดและ
ศัลยแพทย์ต้องรีบผ่าตัดเร่งด่วนเพื่อช่วยชีวิต ต้องให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเป็นผู้เซ็นใบยินยอม


5.4      ในกรณีผู้ป่วยหรือผู้ปกครองไม่สามารถเขียนหนังสือได้ ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือข้างขวาของผู้นั้น และให้เขียนกำกับตรงลายพิมพ์ว่า ลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวาของผู้ป่วยหรือผู้ปกครองของผู้ป่วยนั้น” และให้พยาน
ลงชื่อกำกับ


6.             แนะนำให้ผู้ป่วยงดสูบบุหรี่ในรายที่มีประวัติสูบบุหรี่ สำหรับผู้ป่วยที่รอเข้ารับการผ่าตัดชนิดรอได้


7.             รายงานแพทย์ทราบเมื่อประเมินสภาพผู้ป่วยแล้วพบว่า ผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติด








8.             อธิบายถึงการการเตรียมตัวผู้ป่วยให้ถูกต้อง


8.1      การเตรียมผิวหนังก่อนการผ่าตัด


8.2      การเตรียมลำไส้ก่อนการผ่าตัด


8.3      การให้ยากล่อมประสาท


8.4      การงดน้ำและอาหารก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง


8.5      การให้ยาก่อนระงับความรู้สึกก่อนการผ่าตัด


9.             สอนและแนะนำการออกกำลังกายบนเตียง


9.1      การหายใจเข้าเต็มที่ช้าๆ และการหายใจออกยาวๆ


9.2      การออกกำลังขาทั้งสองข้างขณะพักอยู่บนเตียง


9.3      การพลิกตัวตะแคงซ้ายหรือขวา


10.      การแนะนำให้ผู้ป่วยเกี่ยวกับการลุกเดินโดยเร็ว (Early ambulation)


11.      ดูแลการได้รับสารอาหาร น้ำและอิเล็คโตรไลท์  บางรายที่มีภาวะโลหิตจางแพทย์มักให้เลือดทดแทน สำหรับ
ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารได้ก่อนการผ่าตัด พยาบาลดูแลให้ได้รับอาหารแคลอรี่สูง โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่สูง


12.      บันทึกจำนวนน้ำที่ได้รับและที่ขับถ่ายออกแต่ละวันให้ถูกต้องแน่นอน เพื่อความสมดุลของน้ำในร่างกาย


13.      ชั่งน้ำหนักทุกวันตามแผนการรักษาของแพทย์


14.      ดูแลสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ ไม่มีเสียงรบกวนมาก ที่นอนควรเรียบตึง และสะอาดสิ่งแวดล้อมและของร่างกาย


15.      สังเกตอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับภาวะการขาดน้ำ ภาวะขาดโซเดียมและโปตัสเซียม หากพบความผิดปกติควรรีบรายงานแพทย์เพื่อให้การรักษา


16.      สังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และติดตามผลการตรวจทางห้องทดลอง การตรวจทางรังสี และการตรวจพิเศษอื่นๆ หากพบอาการผิดปกติรายงานแพทย์ทราบ


17.      ดูแลความสะอาดของผิวหนังและช่องปากเสมอ





การเตรียมและการดูแลผู้ป่วยในเช้าวันผ่าตัด


1.             การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยที่เตรียมการผ่าตัด ซักถามการพักผ่อนนอนหลับ การงดอาหารและน้ำหลังเที่ยงคืน ผลการสวนอุจจาระ(ถ้ามีและสังเกตอาการทั่วไป ตลอดจนกิจกรรมการรักษาพยาบาลพิเศษที่ให้กับผู้ป่วย เช่น การคาสายยางสำหรับการสวนปัสสาวะ การให้อาหารและน้ำทางหลอดเลือดดำ ฯลฯ


2.             ตรวจดูความเรียบร้อยของผิวหนังบริเวณที่จะทำผ่าตัดว่าได้รับการทาผิวหนังด้วย Aseptic solutionในตอน
เช้ามืดแล้ว


3.             เก็บของมีค่า กิ๊บติดผม ฟันปลอม contact lens ฯลฯ จากตัวผู้ป่วยฝากไว้กับหัวหน้าตึกหรือพยาบาลประจำการ


4.             บันทึกสัญญาณชีพ เพื่อประเมินสภาพการเปลี่ยนแปลงของตัวผู้ป่วย บันทึกไว้ในรายงานทางการพยาบาลสำหรับเปรียบเทียบในขณะที่ทำการผ่าตัด และบันทึกอาการและการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับในรายงานทาง
การพยาบาลด้วย


5.             ตรวจดูความเรียบร้อยของรายงานผู้ป่วย ตลอดจนผลการตรวจต่างๆ ตามแผนการรักษา


6.             ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาก่อนระงับความรู้สึก(pre-medication)


7.             แนะนำให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนย้ายไปห้องผ่าตัด เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่างในรายที่ไม่ได้สวนปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้ให้ตวงปัสสาวะและเททิ้งพร้อมกับบันทึกในรายงานการพยาบาล


8.             ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นเปลเข็นของห้องผ่าตัดเมื่อพนักงานเปลมารับผู้ป่วย และเตรียมของใช้ต่างๆให้ครบ พร้อมลงบันทึกลงในสมุดสิ่งส่งมอบทุกครั้ง


9.             เตรียมเตียงของผู้ป่วยให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะรับผู้ป่วยกลับจากห้องผ่าตัด โดยทำเตียงแบบ Anesthetic bed และควรมีการปูผ้ายางขวางเตียงตรงกับบริเวณแผลผ่าตัดผู้ป่วยด้วย รวมทั้งเตรียมผ่าห่ม เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัด ซึ่งจะมักรู้สึกหนาว นอกจากนี้ควรเตรียมของให้ที่จำเป็น เช่น เสา สาแหรกแขวนสารละลายที่ให้ทางหลอดเลือดดำ เครื่องดูดเสมหะพร้อมกับขวดน้ำยา เครื่องดูดชนิดต่างๆ ตามความจำเป็นที่จะต้องใช้กับผู้ป่วย





การพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด





                การพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเริ่มต้นจากระยะเวลาที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาถึงตึกผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด
เสร็จสิ้นลง จนกระทั่งผู้ป่วยกลับบ้านและกลับมาตรวจตามนัดที่โรงพยาบาลเพื่อประเมินผลการรักษา หากพยาบาลสามารถให้การพยาบาลได้เหมาะสมถูกต้องและครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ตลอดจนช่วยให้
ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพและกลับไปอยู่ในสังคมได้ดี





การพยาบาลหลังผ่าตัด แบ่งออกเป็น ระยะ ดังนี้


1.             การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดทันทีหรือในระยะที่ฟื้นจากการได้รับยาระงับความรู้สึก (Immediate postoperative stage)


2.             การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดในระยะต่อมา (Extended postoperative stage or later postoperative stage)





การประเมินทางการพยาบาล



                การประเมินสภาพผู้ป่วยมีความสำคัญมากที่จะทำให้ปลอดภัย สุขสบาย และช่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยที่พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการประเมินสภาพผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเช่นเดียวกับในระยะก่อนการผ่าตัด ดังนี้


ก.      ความรู้สึกของผู้ป่วยต่อสภาวะความเจ็บป่วยหลังการผ่าตัด



ข.      การประเมินทางด้านร่างกาย


1.    การตรวจร่างกาย พยาบาลควรมีการประเมินผู้ป่วยโดยเรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้


1.1      ทรวงอกและปอด


-         สังเกตลักษณะการหายใจ ฟังเสียงของการหายใจ


-         ตรวจนับอัตราการหายใจ


-         คลำหลอดคอดู tracheal shift หลังผ่าตัด


1.2      หัวใจและหลอดเลือด


-         วัดสัญญาณชีพ


-         ตรวจดูภาวะซีด


-         วัด CVP. (ถ้ามี)


-         EKG.


1.3      อุณหภูมิ


                        ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดในระยะแรก โดยปกติอุณหภูมิของร่างกายปกติ อาจพบได้ว่ามีอุณหภูมิลดลงต่ำกว่าปกติได้ใน 2 – 3 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดและ บางรายอาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย หลังจากนั้นภายใน 24 – 48 
ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติได้ถึง 38
° C  หากมีไข้หลังวันที่ ควรพิจารณาถึงการติดเชื้อ


1.4      บริเวณแผลผ่าตัด


-         ตรวจดูแผลผ่าตัดทุก 15 นาทีแรกหลังการผ่าตัด เพื่อสังเกตการมีเลือดออก หรือ discharge ซึมจาก
แผลผ่าตัด ให้บันทึกจำนวน ลักษณะด้วย


-         ตรวจดูสีผิว ผื่น จ้ำเลือด รอยถลอก หรือรอยไหม้ตรงบริเวณผิวหนังที่สาง plate หรือ ผูกรัดขณะ
ทำการผ่าตัด


-         สังเกตลักษณะสี จำนวนของสารเหลวที่ออกจากท่อระบายต่างๆ


-         สังเกตความผิดปกติของแผลผ่าตัด เช่น ลักษณะบวม แดง ร้อน ปวด เนื่องจากมีการติดเชื้อ แผลผ่าตัดแยก ฯลฯ


1.5      ระบบประสาท


                        ตรวจดู consciousness , orientation  ของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด โดยปกติผู้ป่วยมักจะรู้สึกตัวดีภายใน 
24 – 72 ชั่วโมง  นอกจากนั้นตรวจดูการเคลื่อนไหวของแขนขา รีแฟลกซ์ต่างๆ กำลังความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ฯลฯ


1.6      ความเจ็บปวดแผลผ่าตัด


                        พยาบาลควรสังเกตพฤติกรรมความเจ็บปวดแผลผ่าตัดของผู้ป่วยด้วยว่าอยู่ระดับใด เพื่อประกอบการพิจารณาให้ยาแก้ปวด


1.7      ผิวหนัง


                        ตรวจดูลักษณะของผิวหนัง เช่น ซีด เขียวคล้ำ และความตึงตัวของผิวหนัง



1.8      ท้อง


                        ประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้แบบบีบรูดอย่างต่อเนื่องในระยะหลังผ่าตัด อาจประเมินทุก 4 – 8 ชั่วโมง เนื่องจากผลผลการได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย การใช้ยาบางชนิด หรือการผ่าตัดช่องท้องที่มีการลูบคลำกระเพาะอาหารและลำไส้ขณะทำการผ่าตัด นอกจากนี้ ควรสังเกตดูภาวะท้องอืด การปวดท้องจากแก๊ส


1.9      การขับถ่ายปัสสาวะ


                        สังเกตสี จำนวนของปัสสาวะที่ไหลออกมาจากสายยางสวนปัสสาวะที่ต่อกับถุงปัสสาวะ คลำดูการ
โป่งพองของกระเพาะปัสสาวะ กรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้คาสายสวนปัสสาวะ ปกติควรถ่ายปัสสาวะได้เองภายใน 6 – 8 ชั่วโมง หลังจากได้รับยาระงับความรู้สึก


        1.10 ความสมดุลของสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์


                        ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมักมีการสูญเสียเลือด สารเหลวในขณะทำการผ่าตัดและภายหลังการการผ่าตัดทางท่อระบายต่างๆ หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดจากการทำการผ่าตัด รวมทั้งการให้สารเหลวและ
อิเล็คโตรไลท์ทดแทนไม่เพียงพอ พยาบาลควรประเมินปริมาณ intake – output fluid และประเมินสังเกตอาการที่เกิดจากความไม่สมดุลของอิเล็คโตรไลท์ด้วย เช่น สับสน กระหายน้ำ เยื่อบุต่างๆ แห้ง ผิวหนังเหี่ยวแห้งเป็นรอยเหี่ยวย่น
หรือบวม กดบุ๋ม การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท้องอืด ชักเกร็ง ฯลฯ ซึ่งแสดงถึงการมี
ภาวะสารเหลวและขาดสมดุลของอิเล็คโตรไลท์





2.  การตรวจทางห้องทดลอง


2.1      CBC.


2.2      BUN & electrolyte


2.3      G/M ในรายที่ซีดจากการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด


2.4      ABG ในผู้ป่วยที่ใส่ Endotracheal tube นานมากกว่า ชั่วโมง ผู้ป่วยที่ผ่าตัดช่องทรวงอก ฯลฯ


2.5      Albumin , PT. & PTT.


2.6      Hemocullture , Urine culture ฯลฯ


2.7      Urine specific gravity


3.  การตรวจทางรังสีและการตรวจพิเศษตามดุลยพินิจของแพทย์





.  ภาวะจิต สังคม



                                   


ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลหลังผ่าตัด



                ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในระยะหลังผ่าตัดทันทีที่พบบ่อยมีดังนี้


1.    การแลกเปลี่ยนกาซลดลงหรือเสี่ยงต่อภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากทางเดินหายใจถูกปิดกั้น


2.    มีภาวะที่สารเหลวในร่างกายหรือเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อก


3.    ความสามารถในการสื่อสารโดยใช้ภาษาพูดลดลงเนื่องจากผลจากการใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย การได้รับยากล่อมประสาท และจากการใส่ท่อทางเดินหายใจ


4.    เสี่ยงต่อการเกิดการแตกทำลายของผิวหนังเนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หรืออยู่ในท่านอนไม่ดี หรือจากการผูกตรึงแขนขา


5.    วิตกกังวลต่อสภาพความเจ็บป่วยและสิ่งแวดล้อมในห้องพักฟื้นหรือหออภิบาลผู้ป่วยหนัก


6.    มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ การถ่ายปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากผลมาจากการใช้ยาระงับ
ความรู้สึก หรือการเจ็บปวดแผลผ่าตัดมาก





ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลหลังผ่าตัดในระยะต่อมาที่พบบ่อย



1.    การแลกเปลี่ยนแกสลดลงเนื่องจากไม่สามารถหายใจเข้าเต็มที่ช้าๆ และหายใจออกยาวๆ


2.    แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ การระบายอากาศหายใจลดลง เนื่องจากความเจ็บปวดแผลผ่าตัด


3.    ขาดความสามารถในการทำทางเดินหายใจให้โล่งเนื่องจากการไอไม่มีประสิทธิภาพ


4.    ไม่ได้รับความสุขสบายเนื่องจากเจ็บปวดแผลผ่าตัด


5.    เสี่ยงต่อการเกิดภาวะถุงลมปอดแฟบหรือภาวะปอดบวมเฉพาะที่ เนื่องจากมีเสมหะคั่งค้างและนอนอยู่กับที่นานๆ


6.             เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกของขา เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อย


7.             เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากการเปลี่ยนท่า


8.             ร่างกายได้รับสารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากการงดอาหารและน้ำทางปากหลายวันและได้รับสารอาหารทกแทนไม่เพียงพอ


9.             มีภาวะขาดสารเหลวและอิเล็คโตรไลท์


10.      พักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากเจ็บปวดแผลผ่าตัด


11.      มีการเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของระบบย่อยอาหาร ท้องอืด ปวดท้องจากแก๊ส ท้องผูกเนื่องจากได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย หรือมีการออกกำลังกายน้อย


12.      มีการแตกทำลายของผิวหนัง เนื่องจากการทำผ่าตัดและแผลผ่าตัดมีสารเหลวซึมมาก


13.      วิตกกังวลต่อสภาพความเจ็บป่วยของตนเอง


14.      เสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อของแผลผ่าตัด หรือระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายจากการผ่าตัด หรือระบบการระบายไม่เป็นระบบปิด


15.      ขาดความรู้ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะกลับไปอยู่ที่บ้านเนื่องจากไม่ได้รับการสอนและแนะนำ





การพยาบาลหลังผ่าตัด



1.             จัดท่านอน


2.             การประเมินระดับความรู้สึกตัวในระยะแรกหลังการผ่าตัด


3.             หาวิธีการสื่อสารอื่นๆกับผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาพูดได้


4.             สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงและการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายหลังการผ่าตัดที่สำคัญ ได้แก่


4.1      ภาวะอุดตันของทางเดินหายใจ


4.2      ภาวะตกเลือดและช็อก


4.3      ภาวะถุงลมปิดแฟบและปอดบวมเฉพาะที่


4.4      ภาวะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกของขาและความดันโลหิตต่ำ


4.5      ภาวะสะอึก ท้องอืด และลำไส้เป็นอัมพาต การปวดท้องจากแก๊ส


4.6      แผลผ่าตัดแยกจากกันบางชั้นและแผลผ่าตัดแยกจากกันทุกชั้น และมีอวัยวะภายในช่องท้องโผล่
ออกมา เช่น ลำไส้


4.7      การคั่งของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ


4.8      แผลผ่าตัดมีการอักเสบติดเชื้อ


5.             การบรรเทาความเจ็บปวดในระยะ 48 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด


6.             การดูแลเกี่ยวกับการให้อาหารน้ำและอิเล็คโตรไลท์ให้อยู่ในภาวะสมดุล


7.             ดูแลให้มีการระบายของสารเหลวออกทางท่อระบายต่างๆ


8.             การดูแลด้านจิตใจ


9.             การสอนและแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะที่อยู่โรงพยาบาลและขณะอยู่ที่บ้านป่วย