Powered By Blogger

9 September 2011

ระบบโครงสร้าง

วิชากายวิภาค(Anatomy)เป็นวิชาที่ศึกษาถึงโครงสร้างและลักษณะของอวัยวะและตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะดั้งนั้น  ระบบโครงสร้างคือ  ระบบที่ประกอบด้วยกระดูก
Bone
  กระดูกอ่อน Cartilage ข้อต่อ Jont และ เอ็นยึดกระดูก  ซึ่งประกอบกันจึงทำให้ร่างกายของคนเรามีรูปร่างขึ้นมาได้



หน้าที่ของกระดูก

1.       ประกอบกันเป็นโครงร่างให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้
2.       รองรับอวัยวะต่างๆให้อยู่ในตำแหน่ง
3.       เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็น
4.       เป็นส่วนประกอบของการเคลื่อนใหว
5.       ป้องกันอวัยวะภายใน
6.     ผลิตเม็ดโลหิต
7.     เก็บสำรองธาตุและแคลเชียมของร่าวกาย




การกำเนิดของกระดูก

       เริ่มแรกของอวัยวะที่เกิดขึ้นเป็นกระดูกอ่อนแล้วจึงเปลี่ยนเป็นกระดูกแข็งในระยะต่อมามีโลหิตไปเลี่ยงและนำแคลเชียมเข้าไปสะสมในสูนย์กลาง(Ossification  center)  และเกิดขึ้นในขั้นแรก  ได้แก่  ตรงส่วนกลางของกระดูกกับศูนย์ที่เกิดขึ้นที่หลัง  ได้แก่ส่วนปลายของกระดูกแล้วส่วนทีสองนี้จะเจริญขึ้นไปบรรจบกัน




การเจริญเติบโตของกระดูก
          การเจริญเติบโตของกระดูกจะเจริญทั้งทางด้านยาวและทางด้านกว้างหรือใหญ่ออก  กระดูกจะยาวขึ้นเรื่อยๆจนอายนุครบ  18  ปี  ในหญิง  และอายุ  20  ปีในชาย  และนอกจากนั้นก็จะหยุดการเจริญเติบโตกลายเป็นกระดูกแข้งไปหมด  ส่วนการขยายใหญ่ออกนั้นโดยเซลกระดูกที่เกิดใหม่งอกขึ้นใต้เยื่อหุ้มกระดูกเป็นชั้นๆเป็นรอบๆกระดูก  เซลที่สร้างกระดูกนี้เรียกว่า  OSteoblast  และจะทำงานโดยการดึงแคลเชียมจากโลหิต   และนอกจากจะมีเซลที่สร้างกระโกแล้ว  ยังมีเซลที่ตรงงข้ามกันคือ  เซลสลายกระโก Osteoclast  ทำให้แคลเชียมที่ไม่จำเป็นถูกดึงดูดออกจากกระดูก  สู่โลหิต  การทำงานของเซลนี้ทำงานภายไต้อิทธิพลของฮอร์โมนParathormone  ของต่อมไร้ท่อ  พาราไธรอยด์  Parathyroid


โครงสร้างของกระดูก




















กระดูกแบ่งออกตามลักษณะโครงสร้างได้  2  ลักษณะ  คือ
1.     กระดูกพรุน  Spongy  bone  เนื้อกระดูกจะเป็นรูๆ  คล้ายฟองน้ำ  ซึ่งในรุพรุนนี้จะเต็มไปด้วยไขกระดูก Bone  marrow  โดยเฉพราะกระดูกพรุนจะเป็นกระดูกสีแดง  มีหน้าที่ผลิตเม็ดโลหิต  กระดูกพรุ่นจะอยุ่ตอนหัวท้ายของกรุดูกยาว  และอยู่ตอนในของกระดูกสั้น  กระดูกแบน  และกระดูกรูปแปลก  ทำให้กระดูกเบา
2.     กระดูกทึบ  Compact  bone  เป็นส่วนที่แน่นทึบอยุ่กับลำตัวShaflของกระดูกยาวและอยุ่นอกสุดของกระดูกสั้น  กระดูกแบน  และกระดูกรูปแปลก  เนื้อกระดูกที่แน่นทึบประกอบด้วยฮาร์เวอร์เซี่ยนHarvesian  system  ภายในมีหลอดโลหิตและหลอดน้ำเหลือทอดขนานไปทางของโพรงกระดูกยาวจะมีไขกระดูกสีเหลือง
เยื้อหุ้มกระดูก   มีเยื้อหุ้มทั้งภายในและเยื้อหุ้มโพรงกระดูก  คือ
      1.เยื้อหุ้มกระดูกชั้นนอก  Periosteum  เป็นเนื้อเยื้อบางๆ  ที่หุ้มกระดูกอยุ่  แต่ไม่ได้หุ้มที่หัวท้ายของกระดูกยาว  จากเยื้อหุ้มกระดูกนี้จะมีเลือด  น้ำเหลืองและเส้นโลหิต  ประสาทผ่านไปยังโพรงกระดูก  และเป็นที่กล้ามเนื้อยึดติดกับกระดูก
      2.เยื้อหุ้มกระดูกชั้นใน  Endosteum  เป็นเยื้อบาง  ซึ่งบุอยุ่ในโพรงกระดูก  Medullary  cavity  หน้าที่ของเยื้อหุ้มกระดูกทั้งภานในและภานนอกก็คือ  นำโลหิตไปเลี่ยงส่วนต่างๆของกระดูกและทำให้เกิดกระดูกใหม่หรือต่อกระดูก  ขณะเดียวกันก็ยังทำให้ไห้กระดูกงอกขึ้นผิดปกติอีกด้วย


ไขกระดูก  Bone  marrow  มีอยุ่ในโพรงของกระดูกยาว  Medullary  cavity  และในโพรงเล็กๆของกระพรุน  ไขกระดูกมีหน้าที่ผลิตเม็ตโลหิตแดงและผลิตเม็ดโลหิตขาวบางชนิดและยังช่วยให้อาหารแก่กระดูก
      1.  ไขกระดูกแดง    Red  bone  marrow  จะพบในโพรงเล็กๆ  ของกระดูกพรุน  เช่นที่หัวท้ายของกระดกยาว  กระดูกกะโหลกศรีษะ  กระดูกหน้าอก  กระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลัง  ไขกระดูกแดงมีหน้าที่ผลิตเม็ดโลหิตแดง  ในเด็กแรกเกิดมักจะมีไขกระดูกแดงเป็นจำนวนมาก
   2.ไขกระดูกเหลือง  Yellow  bone  marrow  จะพบในโพรงกระดูกของกระดูกยาว  ซึ่งประกอบด้วยไขมันเป็นจำนวนมากผู้ที่ออกกำลังกายอยุ่เสมอหรือผู้ที่ฝึกซ้อมไขกระดูกเหลืองจะเปลี่ยนเป็นไขกระดูกแดงผลิตเม็ดโลหิตหให้กับร่างกายมากขึ้น

กระดูกอ่อน  Cartilage 
       คือกระดูกที่มีลักษณะอ่อน(ไม่มีโลหิตมาเลี่ยง)เมื่อแตกหักแล้วไม่สวามรถซ่อมแซมได้เอง  กระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่ปลายกระดูก  จะมีลักษณะเรียบเกลี้ยง  ช่วยให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้ดี  และยังทำไห้ลดการเสียดสีของกระดูก  นอกจากนั้นยังมีรอยต่อของกระดูกอีก  เช่น  กระดูกสันหลัง  หัวเหน่า  ใบหู  และปลายจมูก  ซึ่งให้ประโยชน์ของการเคลื่อนไหว

กระดูกร่างกาย  ร่างกายคนเราในผู้ใหญ่มีกระดูกจำนวน  206  ชิ้น  แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่  2  กลุ่มคือ
    1.  กระดูกแกนกลางของร่างกาย  Axial  skeleton  จำนวน  80  ชิ้น
   2.  กระดูกระยางค์  Appendicular  skeleton  จำนวน  126  ชิ้น

ข้อต่อ  Joion  หรือ  articulotion  เป็นตำแหน่งที่ชิ้นกระดูกมาบรรจบกันหรือต่อกัน  อาจจะเป็นระหว่างกระดูกกับกระกฃดูกหรือกระดูกอ่อนกับกระดูก  หรือระหว่างกระดูกอ่อนด้วยกัน  เพื่อประกอบกันเป้นโครงร่าง  และยังช่วยให้เกิด
ความเคื่อนใหวของอวัยวะนั้นๆ

การเคลื่อนไหวของข้อต่อ 
        การทำงานของร่างกายมีกล้ามเนื้อเป็นตัวแรง  กระดูกเป็นคาน  โดยมีข้อต่อเป็นจุดหมุนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการ  การเคลื่อนไหวของข้อต่อมีหลายแบบดังนี้คื
   
  1.  การงอ  Flexion  เช่นการงอข้อศอก  ข้อเข่า  เมื่อส่วนดังกล่าวเหยียดอยุ่ก่อนแล้ว

 2.  การเหยียด  Edtension  เช่น  การเหยียดปลายแขน  ปลายขา  เมื่อส่วนดังกล่าวงออยู่แล้วก่อนแล้ว
 
3.   การกางออก  Adduction  เช่นการกาง แขน  ขา  ออกจากลำตัว

4.   การหุบเข้า  Adduction  เช่นการหุบแขน  ขา  เข้าหาลำตัว

5.  การหมุน  Rotation  เป็นการหมุนรอบแกนโดยกานหมุนอยู่กับที่  หมุนไปหมุนมาไม่รอบ  เช่นการหันหน้าไปซ้ายหรือขวา

6.  การหมุนเป็นวง  Circumduction  เป็นการหมุนแกว่งเป็นวง  หรือหมุนเป็นรูปกรวย  เช่นการหมุนแขน  หมุนขา

   

No comments:

Post a Comment