Powered By Blogger

9 September 2011

การใหลเวียนโลหิต

ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory System)

         ประกอบด้วย 2 ระบบด้วยกันคือ ระบบหัวใจและหลอกโลหิต(Circulatory System)หน้าที่สำคัญของระบบนี้คือ การขนส่งอาหาร ออกซิเจนและสารต่างๆไป ยังเซลทุกส่วนของร่างกายและรับเอาของเสียจากเซลไปที่มีหน้าที่ขับออกหรือเพื่อส่งไปฟอกที่ปอด

โลหิต (blood)

 คนเรามีโลหิตประมาณ 7-8 % ของน้ำหนักตัวอัตราส่วนเม็ดโลหิตแดงต่อเม็ดโลหิตทั้งหมดเรียกว่า ฮีมาโตคริต (Haematocrit) ผู้ชายเฉลี่ยประมาณ45%และผู้หญิงประมาณ40% ถ้ามาโตคริตลดต่ำกว่าปกติหมายความว่าในโลหิตมีปริมาณเม็ดโลหิตแดงลดลงเมื่อเทียบประมาณโลหิตทั้งหมดกรณีเช่นนี้เราเรียกว่าโรคโลหิตจาง

หน้าที่ของโลหิต

  1. นำอาหารและสารอื้นๆ ไปเลี้ยงเซลของร่างกาย
  2. ช่วยในการหายใจ คือนำออกซิเจนจากปอดไปยังเซลและคาบอนไดออกไซด์จากเซลไปส่งปอด
  3. ลำเลียงของเสียจากการเผาผลาญ  metabolism  เพื่อขับออกภายนอกร่างกาย
  4. ลำเลียงฮอร์โมนออกจากต่อมไร้ท่อไปยังส่วนที่ฮอร์โมนกระตุ้น
  5. ช่วยควบคุมการรักษาสมดุลของเหลวภายในร่างกาย
  6. รักษาอุณภูมร่างกายให้เป็นปกติ
  7. รักษาความเป็นกรด  ด่างในโลหิตที่มี  pH  ประมาณ  7.4
  8. ช่วยป้องกันการทำลายเชื้อโรค  และสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย


เม็ดโลหิตแดง  (Red  blood  cell)
       
          ลักษณะเม็ดโลหิตแดงเป็นเซลที่ไม่มีนิวเคลียส  มองด้นบนเป็นรูกลม  มองด้านข้างเว้าเข้าหากัน  การเว้าทำให้ก๊าซซึมเข้าหากันได้ง่าย  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  4.2  ไมครอน
(1ไมครอน=0.001มม.)
           จำนวนโดยปกติของผู้ชายมีเม็ดโลหิตแดงประมาณ  5  ล้านเซล  ต่อ 1  ลบ.  มม.  ของโลหิต  ผู้หญิงมีประมาณ  4.5  ล้านเซล  ต่อ 1  ลบ.มม.  ของโลหิต  หน้าที่ช้วยขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปสู่เยื่อต่างๆ  โดยการรวมตัวกับฮีโมโกลบิน  Hemoglobinหรือ Hb  และในเม็ดโลหิตแดงเป็นออกซีฮีโมโกลบิน  Oxyhemoglobin  และช่วยลำเลียงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  จากเนื้อเยื่อไปยังปอด  นอกจากนี้Hp  ยังช่วยรักษาความเป็นกรด ด่างของโลหิตอีกด้วย  (ฮีโมโกลบินประกอบด้วย  Heme= โลหิตประมาณ4%ซึ่งประกอบด้วยเหล็ก และ globin  สารโปรตีนประมาณ96 %)

               การสร้างเม็ดโลหิตแดงเม็ดโลหิตแดงถูกสร้างขึ้นที่ไขกระดูก  Bone  marrow  มีอายุ  120  วัน  จากนั้นถูกทำลายที่ตับและม้าม


การผิดปกติเกี่วกับเม็ดโลหิตแดง

                    โลหิตจาง  Anemia  สาเหตุมาจากเชื้อมาเลเลีย และแบคที่เรียบางชนิด  เช่น  สเตรพโตคอตซิสตาฟิโลคอตซิ
                     นอกจากนี้เม็ดโลหิตแดงอาจถูกกัน (Block) ไม่ให้สามสามารถจับออกซิเจนได้ โดยก๊าซคาร์บอนมอน๊อกไซด์ โดยที่ฮีโมโกลบินจับคาร์บอยมอน๊อกไซด์ดีกว่า ออกซิเจน ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน และทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้

เม็ดโลหิตขาว (Leukocyte หรือ White Blood Cell)

                  ลักษณะ เม็ดโลหิตขาวมีลักษณะกลม เคลี่ยนไหวได้คร้ายอมีบา มีนิวเคลียสและขนาดใหญ่กว่าเม็ดโลหิตแดงแบ่งเป็น 2 ชนิดกว้างๆคือ ชนิดมีจุด และ ชนิดไม่มีจุด

          1. ชนิดมีความจุด (Granulocytes) คือ จุด (Granules) ภายในไซโตพลาสซึมอยู่ทั่วไปเม็ดโลหิตขาวพวกนี้แบ่งตามการติดสีได้ 3 ชนิด

ก. นิวโตรฟิล (Neutrophils) มีประมาณ 75% ของเม็ดเลือดขาว

ข. อีโอซิโนฟิล (eosinophils) มีประมาณ 4% ของเม็ดโลหิตขาว ย้อมสีติดสีกรด คือสีแดง

ค. เบโซฟิล (basophils) มีประมาณ 0.5-1% ของโลหิตขาวย้อมสีติดสีต่าง คือสีน้ำเงิน

         2.  ชนิดที่ไม่มีจุด (Agranulocytes) พวกนี้จะมีนิวเคลียสใหญ่ค่อนข้างกลมไม่แบ่งเป็นกลีบแบ่งชนิด

ก. ลิมโฟไซท์ หรือ เม็ดน้ำเหลือง (Lymphocytes) มีจำนวนประมาณ 20 %

. โมโนไซท์ (Monocytes) มีจำนวนประมาณ 5 %


                โดยปกติแล้วมีเม็ดโลหิตขาวประมาณ 4,000-10,000 เซลหน้าที่โดยทั่วไปกินและทำลายแบคทีเรียเป็นตัวด้านทานเชื้อโรคซ้อมแซ่มส่วนที่ถูกทำลาย

การสร้างโลหิตขาว โลหิตขาวประมาณที่มีจุด (Granulocytes) จะผลิตจากไขกระดูกพวกเม็ดน้ำเหลืองจะผลิตขึ้นมาที่เนื้อเยื่อน้ำเหลือง (Lymphoid tissue) โดยเฉพาะที่ตอมน้ำเหลืองยังมี ตับ ม้ามช่วยผลิตอีก

ความผิดปกติเกี่ยวกับเม็ดโลหิตขาว

        การมีเม็ดโลหิตขาวมากกว่าปกติ (Leukmia) คือ การผลิตเม็ดเลือดขาวมากขึ้น และผลิตเม็ดเลือดแดงน้อยลงกว่าปกติ อาจเรียกว่า มะเร็งในเม็ดโลหิตขาวถ้าเป็นชนิดร้ายแรง (Acute Leukemia) เสียชีวิตได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นเรื่้อรัง (ChronicLeukemia) อาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน

เม็ดโลหิต (ThrombocytesหรือBlood platelet)

    ลักษณะเกล็ดโลหิตเป็นเซลที่มีขนาดเล็ก จำนวนเกล็ดโลหิตมีประมาณ 200,000-400,000 เซล
หน้าที่ทำให้โลหิตแข็งตัวซึ้งเป็นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว (Blood clot) จดเป็นการห้ามเลือดเมือเกิดบาดแผล สร้างเซลในไขกระดูกมีอายุประมาณ 3-4วัน จะทำลายที่ ตับ ม้าม

น้ำเลือด (Blood plasma)

ลักษณะ พลาสมา คือส่วนที่เป็นของเหลวโลหิตต่างๆประกอบด้วย

ก.น้ำประมาณ 92%

ข. โปรตีนประมาณ 7% ซึ่งประกอบด้วย
อัลบูมิน (Albumin) สร้างจากตับ จะ ถูก ขับออกจากปัสสาวะ
โกลบูลิน (Globulin) สร้างจากเม็ดน้ำเหลือง (Lymphocytes)
ไฟบรีโนเจน (Fibrinogen) และโปรธรอมบิน (Perthrombin) สร้างจากเซลของตับ สารที่สองช่วยในการแข็งตัวของโลหิต
เฮปาริน (Geparin) สร้างจากตับ มีหน้าที่ป้องกันการแข็งตัวของโลหิต

  • ค. เกลือแร่ซึ่มประกอบด้วย โซเดียมคลอไรค์ โปแตสเซียมคาร์บอนเนต แคลเซียมใบคาร์บอนเนตแมคเนเยเว๊ยมซัฟเฟต
  • ง.อาหารประกอบด้วยกลูโคส อะมิโนเอซิด กรดไขมัน และ วิตามินต่างๆ
  • จ.ขแงเสียจากเนื้อเยื่อ (Waste products) ได้แก่ ยูเรีย กรดยูริก ครีอาตีน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญของโปรตีน จะถูกขับออกทางไต
  • ฉ.สารต้านทานโรค ( Antibody)
  • ช.ก๊าสที่อยู่ในสารละลายเช่น ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และ ในโตรเจน
  • ซ.ฮอร์โมน และ น้ไย่อยต่างๆ
ระบบกลุ่มโลหิต ABO
โลหิตของมนุย์แบ่งออกเป็น 4 หมู่ ด้วยกัน คือ A,B,AB และ O
  • โลหิตหมู่ A มีสาร Aในเม็ดโลหิตแดง และ สาร Anti B ในเลือด
  • โลหิตหมู่ B มีสาร B ในเม็ดโลหิตแดง และ สาร Anti A ในเลือด
  • โลหิตหมู่ AB มีสาร A และ B ในเม็ดโลหิตแดง ไม่มีสาร Anri A และ anti B ในเลือด
  • โลหิตหมู่ O ไม่มีสาร A และ B ในเม็ดโลหิตแดง แต่มีสาร Anri A และ anti B ในเลือด
การให้โลหิต (Blood Transfusion)
                 ในการถ่ายโลหิตจากผู้ให้ (Doner) ไปยังผู็รับ (Recipent) ปฎิกิริยาระว่าสาร A สาร B ในเม็ดเลือดโลหิตต่อ anti A , anti B ในเลือดถือว่าสำคัญมาก การถ่ายโลหิตที่ไม่ปลอดภัยที่สุด ผู้ให้และผู้รับต้องหมู่โลหิตชนิดเดี่ยวกันแต่ถ้าผู้ให้และผู้รับมีโลหิตต่างหมู่ก็อาจทำได้เพราะ  Anti A และ Anti B จากผู้ให้บางส่วนจะถูกดูดซึ่มได้โดยเนื้อเยื่อของผู้รับก่อนที่จะเกิดการเกราะกันเป็นกลุ่มและ Anti A และ Anti B ส่วนที่เหลือจากการดูดซึมจะปนกับเลือดของผู้รับจนเจือจางลง จนไม่สามารถ ทำให้เกิดการเกราะกันเป็นกลุ่ม แต่เนื้อเยื้อของผู้รับ จะดูดซึ่มได้เพราะ Anti A หรือ Anti B ของผู้ให้เท่านั้นไม่สามารถ จะดูดซึมสาร A และ B ในเม็ดโลหิตได้ฉะนั้นการถ่ายโลหิตที่ต่างกันทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของสาร A และ Bของผู่้ให้แต่และชนิด Anti A , Anti B ในตัวผู้รับ
หัวใจ (Heart)
        หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตผ่านไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ
ส่วนประกอบของหัวใจ
         หัวใขมีเยื่อหุ่้มหัวใจ (Pericardium) ประกอบกันขึ้นเป็น 4 ห้อง 2 ห้องบนผนังบางลิ้นที่ควบคุ้มการไหลเวียนของโลหิตจากหัวใจห้องซ้ายล่างออกสู้เส้นโลหิตแกงใหญ่ คือ พัลโมนารี หรือ เซมิลูน (Pulmonary or Semilunar Valve)

การไหลเวียนของโลหิตผ่านหัวใจ

   การบีบของหัวใจห้องบน (Atrium) ช่วยให้โลหิตไหลสู่หัวใจห้อง ล่าง (Ventricle) ทำให้โลหิต ห้องล่างและจากห้องซ้ายล่างทางเส้นโลหิต พันโมนารี อาเตอรี่ (Pulrnoary artery) ไปฟอกที่ปอด และจากห้องซ้ายล่างออกทางเส้นโลหิตแดงใหญ่ (Aorta) ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมือหัวใจห้องบน (Atrium) คลายตัว โลหิตจากเส้นโลหิตดำใหญ่เส้นบนซึ่งนำโลหิตดำจากศีรษะและแขนจะนำเส้นโลหิตดำไปยังเส้นโลหิตดำใหญ่เส้นล่างซึ่งนำโลหิต ลงลำตัวและขา จะนำโลหิตดำเข้าสู่หัวใจบนขาว ขณะเดียวกันโลหิตที่ฟอกแล้วจากปอดจะไหลเข้าสู่หัวใจห้องซ้ายบนทางเส้นเลือดพัลโมนารี (Pulmonary viins) เมือหัวใจห้องซ้ายบนบีบตัว โลหิตก็จะไหลเข้าสู่ห้องล่างแล้วไหลเวียนเช่นที่กล่าวแล้ว การบีบตัวของหัวใจเรียกว่า ซีสโตลี (Systoly) การครายตัวของหัวใจเรียกว่า ไดแอสโตถี (Diastole)


การเต้นของหัวใจ (Heart Beat)

อัตราการเต้นของหัวใจ(Heart Beat)ตามปกติผู้ชายประมาณ 72 ครั้งต่อนาที ผู้หญิงประมาณ 75-80 ครั้งต่อนาที   ระยะการทำงานของหัวใจแบ่งเป็น3 ระยะ คือ

  • ระยะพัก (puuse) ใช้เวลาประมาณ 0.2 วินาที
  • ระยะหดตัว (Systole) ใช้เวลาประมาณ 0.3 วินาที
  • ระยะคลายตัว (Diastole) ใช้เวลาประมาณ 0.3 วินาที
เมืออัตรเต้นของหัวใจเฉลี่ย 72ครั้งต่อวินาที

ชีพจร (Pulse)

   เกิดจากการขยายตัวการหกตัวของเส้นโลหิตแดงสสับกัน ซึ่งตรงกันการเต้นของหัวใจตำแหน้งที่จับชีพจรได้ก็คือ ที่เส้นโลหิตแดงที่อยู่ผิวๆเช่น ที่ข้อมือด้านด้านนิ้วหัวแม่มือ (Radial Artery) ที่ขมับ(Tamporal Atery) และคอ (Carotid Atery) ยังมีความสำคัญในการฝึกซ้อมกี่ฬาการออกกำลังกายหรือในการวิจัย ที่บอกเกี่ยวกับความหนักเบาของการทำงานของร่างกาย ความสมบูรณ์มากน้อยของร่างกายอีกด้วย


หลอดโลหิต (Blood Vessels)

                  การไหลเวียนของโลหิตไปเส้นโลหิต และ หัวใจจะเป็นระบบบีด (Closed Blood System) โลหิตจะไหลออกข้างนอกไม่ได้ ถ้าวงจรเปิดแสดงว่าเกิดบาดแผลผนังโลหิตฉึกขาด
    
                  หลอดโลหิตแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ คือ หลอดโลหิตแดงและดำ ส่วนที่ต่อระหว่างโลหิตแดงและดำเรียกว่าเส้นโลหิตฝอย

    โลหิตแดงเริ่มจากหลอดโลหิตแดงใหญ่ (Aorta) เป็นหลอดโลหิตที่ใหญ่ที่ในร่างกาย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซ.ม สาขาของหลอดโลหิตใหญ่ คือเส้นโลหิตแดง (Atery)  เช่น

เส้นโลหิตแดงเลี้ยงปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ (Radie Artry) และ ส่วนสุดท้ายเส้นโลหิตฝอย (Capillary)
โลหิตดำเริ่มจากเสิ้นโลหิตฝอย ขนของเสียได้  และไหลรวมเป็นเส้นโลหิตดำใหญ่ (Inferior vena pressure) เข้าสู่หัวใจห้องบนขวาต่อไป

ความดันโลหิต (Blood Pressure)

                           การไหลเวียนของโลหิตจะเกิดขึ้นได้โดยมีแรงดัน  เรียกว่า ความดันโลหิต โดยปกติจะวัดความดันได้ที 120/70 มม.

                          ความดันโลหิตจะ  สูงหรือต่ำ  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ เช่น อายุถ้าอายุมากความดันโลหิตจะสูงด้วยรูปร่างคนอ้วนความดันโลหิตจะสูงกว่าคนปกติขณะวัด  ยืนวัดความดันโลหิตจะสูงกว่านั้งวัด และอารมณ์ หากตกใจหรือตื่นเต้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น


ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic System)

หน้าที่ของระบบน้ำ

  1. ช้วยนำโปรตีนในช่องระหว่างเซลที่หลุดออกมาจากหลอดโลหิตฝอย และสารอื้นๆ ให้กลับเข้าสู่กระแสโลหิตใหม่
  2. กำจัดพวกแบคทีเรีย หรือ สารแปลกปลอมอื้นๆ โดยเซลที่อยู่ภายในต่อมน้ำเหลืองจะเป็นตัวจับกิน(Phagocytosis)
  3. ต่อมน้ำเหลืองสามารถาสร้างสารต้านทานโรค (Antibodies) ได้เมือแบคทีเรีย หรือ สารแปลกปลอม(Antigen)เข้าสู่ร่างกาย
  4. เป็นทางผ่านของอาหาร โดนเฉพาะ พวกไขมันจากลำไส้ไปยังกระแสโลหิต โดยผ่านท่อน้ำเหลือง (Lacteal) ที่ผนังลำไส้




ขอบคุณที่เข้ามานั้งอ่านนะแสดงคิดเห็นด้วยคับ 

No comments:

Post a Comment